18 พฤศจิกายน 2024
ประธาน FETCO ถอดรหัส 3 ปัจจัยหลัก กนง.ลดดอกเบี้ย เชื่อแรงกดดันการเมืองไม่มีผล
เศรษฐกิจ

ประธาน FETCO ถอดรหัส 3 ปัจจัยหลัก กนง.ลดดอกเบี้ย เชื่อแรงกดดันการเมืองไม่มีผล

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) มองว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโบายการเงิน (กนง.) จะยึดหลักการสำคัญ คือ การพิจารณาอัตราเงินเฟ้อที่แท้จริง ซึ่งปัจจุบันการที่อัตราเงินเฟ้อของไทย -0.83% เนื่องจากสินค้าจีนเข้ามาทำให้ราคาสินค้าในไทยลดลง รวมทั้งราคาน้ำมันปรับตัวลงต่อเนื่อง จึงต้องพิจารณาควบคู่กับเงินเฟ้อพื้นฐานไทยที่อยู่ราว 0.5-0.6% ก็ยังถือว่าต่ำมาก สะท้อนว่าเงินเฟ้อระดับนี้ไม่ใช่ปัญหา
ถัดมา กนง.ต้องพิจารณาว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะเป็นอย่างไร ต้องการแรงกระตุ้นหรือไม่ รวมทั้งแรงกระตุ้นจากภาครัฐจะเข้ามามากน้อยเพียงใด เพื่อประเมินทิศทางของเศรษฐกิจ และพิจารณาความจำเป็นในการลดดอกเบี้ย นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาแนวโน้มเศรษฐกิจในปีหน้าหากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว การส่งออกกลับมาดีขึ้น จะเป็นแรงส่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เงินทุนก็จะไหลเข้ามาที่ตลาดทุนไทยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง Sentiment ต่างๆ ที่จะดีขึ้นช่วงปลายปี เพื่อประเมินว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะเหมาะสมหรือไม่

ประธาน FETCO กล่าวถึงทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 67 ว่า น่าจะยังไปต่อได้ โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ราว 3-4% ขึ้นอยู่กับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ขณะที่การส่งออกเริ่มทรงตัวจากแนวโน้มเศรษฐกิจในต่างประเทศเริ่มฟื้นตัว อย่างไรก็ตามการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังมีปัญหา โดยเติบโตต่ำกกว่าช่วงก่อนโควิดประมาณ 10% เนื่องจากสินค้าจีนที่นำเข้ามาในไทยกดดันผู้ผลิตทุกราย

ส่วนการที่เงินเฟ้อไทยล่าสุดติดลบไม่เกี่ยวข้องการกับการที่เศรษฐกิจไทยไม่ดีจนกระทั่งไม่มีคนใช้จ่าย เพราะการบริโภคในประเทศ รวมทั้งการท่องเที่ยวยังเป็นปกติ และยังมีการลงทุนเพิ่มขึ้นในประเทศไทย ทั้งนี้ มองว่าเศรษฐกิจไทยในอนาคตก็จะยังเติบโตต่อเนื่อง สะท้อนว่าเงินเฟ้อที่ติดลบในครั้งนี้ไม่ได้มาจากเศรษฐกิจที่มีเป็นปัญหา

ขณะที่ปี 67 คาดว่าจะเป็นการเข้าสู่ช่วงใหม่ของเศรษฐกิจโลก อีกทั้งจะเกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจพร้อม ๆ กันจากธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ส่งผลบวกต่อตลาดทุนไทย อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวในปี 67 คาดว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจะชะลอลงบ้าง ส่งผลให้แรงส่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยน้อยลงหรือไม่ได้ช่วยผลักดันเศรษฐกิจได้มากเท่าในอดีต

ปัจจัยที่ต้องติดตาม ซึ่งจะมีผลต่อตลาดทุนไทยระยะสั้นในปี 67 คือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งกองทุนระหว่างประเทศคาดว่าปี 67 การเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกจะน้อยที่สุด ขณะที่วิกฤตอสังหาในจีนยังส่งผลกระทบอยู่ต่อเนื่อง รวมทั้งประเด็นวิกฤติสงครามในตะวันออกกลางที่ยืดเยื้อเริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะการปิดเส้นทางทะเลแดง ทำให้ต้นทุนค่าระวางเรือเพิ่มขึ้น นอกจากนี้วิกฤติในตลาด Emerging และความผันผวนในตลาดการเงินโลกยังเป็นปัจจัยที่ต้องติตตาม

สำหรับเม็ดเงินจากต่างชาติในตลาดหุ้นไทยมองว่าในปี 66 ลดลงไปค่อนข้างมากแล้ว ซึ่งพื้นฐานตลาดหุ้น ราคา และ รายได้ของแต่ละบริษัทจดทะเบียนน่าจะสมดุลกันมากขึ้น ประธาน FETCO มองว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเน้นเรื่องของการสร้างพื้นฐานที่ดีให้กับตลาดทุนไทย อาทิ การดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ การปรับกฎเกณฑ์ให้ง่ายต่อการดำเนินธุรกิจ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน กระตุ้นการท่องเที่ยว ผลักดันให้เมืองไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจ Start Up ให้มากขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตา 17 ม.ค. ‘สภากทม.’ เคาะเคลียร์หนี้สายสีเขียว

ThaiSmartBiz

หวยงวดนี้ออก 17 ม.ค. 67 เปิดสถิติผลสลากงวด “วันครู” ย้อนหลัง 10 ปี

ThaiSmartBiz

จีนเผย GDP ปี 2566 ขยายตัว 5.2% สูงกว่าเป้าหมายของรัฐบาล

ThaiSmartBiz