คัด 29 หุ้นจ่อรับประโยชน์ “ดอกเบี้ย” ขาลง หลัง กกง. ชงแบงก์ชาติลดดอกเบี้ยนโยบายลงตามทิศทางเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยในช่วงไตรมาส 2/2567ขณะที่ธนาคารออมสินนำร่องลดดอกเบี้ยเงินกู้ “MRR” 0.150% เหลือ 6.845% มีผลตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค. 67 เป็นต้นไป แนะกลุ่มเช่าซื้อ, ธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก, อสังหาฯ, ปันผลสูง และ Net Debt
ก่อนหน้าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ส่งสัญญาณว่าจะคงดอกเบี้ยที่ระดับ 2.50% ในปีนี้ แต่เริ่มเห็นกระแสที่จะผลักดันให้เกิดการปรับลดดอกเบี้ยมากขึ้น จนกระทั่งทางธนาคารออมสินนำร่องประกาศลดดอกเบี้ย
MRR เหลือ 6.845% จากเดิม 6.995% เท่ากับปรับลดลง 0.150% มีผลตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค. 67 เพื่อช่วยเหลือบรรเทาภาระทางการเงินของประชาชนในช่วงระยะนี้ ไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง นับเป็นอัตราดอกเบี้ย MRR ที่ต่ำสุดในระบบธนาคาร ณ เวลานี้
ล่าสุดนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) มองว่า ในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ในระดับสูงสุดแล้ว ซึ่งในระยะข้างหน้า ดอกเบี้ยควรปรับทิศทางให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศ และการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่มีแนวโน้มลดลงในปีนี้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจที่มีมากขึ้นจากทั้งในประเทศและนอกประเทศ
ด้านนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดดอกเบี้ยในช่วงไตรมาส 2/2567 ซึ่งกรณีธนาคารออมสินนำร่องลดดอกเบี้ย MRR นับเป็นเรื่องที่ดี และเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ SME แต่ปัญหาสำคัญคือ ผู้ประกอบการ SME ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้
ทั้งนี้ กกร. มีความกังวลเรื่องปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ และหวังว่าปัญหาจะไม่ขยายวงลุกลามมากขึ้นไปยังภูมิภาคที่จะส่งผลต่อระบบขนส่ง ห่วงโซ่การผลิต และราคาน้ำมัน นอกจากนี้
ยังมีการเลือกตั้งใหญ่ในอีก 50 ประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทย ซึ่งจะมีผลต่อนโยบายในต่างๆ
ส่วนหุ้นที่คาดได้ประโยชน์ หากดอกเบี้ยเข้าสู่ขาลง คือ กลุ่มเช่าซื้อ, ธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก, อสังหาฯ, ปันผลสูง, Net Debt อาทิเช่น กลุ่มเช่าซื้อ ได้แก่ บริษัท ราชธานีลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ THANI, บริษัท เมืองไทย
แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ MTC, บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR, บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAWAD, บริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน)หรือ ASK, บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ AEONTS, บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM, บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT
กลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก ได้แก่ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ KKP, บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TISCO
กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI, บริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)หรือ LH, บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ AP, บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)
หรือ ORI, บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ QH, บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI, บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NOBLE, บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ LALIN
กลุ่มที่ให้ปันผลสูง ได้แก่ บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER, บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC, บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) หรือSCC, บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU, บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) หรือ MAJOR
กลุ่มได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยจ่ายลด (Net Debt) ได้แก่ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)หรือ BGRIM, บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF, บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT, บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL,บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE
ด้านบริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์ว่า กลุ่มได้ประโยชน์ที่วงจรดอกเบี้ยพลิกเป็นขาลงนับจากปี 2567 ได้แก่ GULF, GPSC,SAWAD, JMT, CPALL, TRUE, MINT, ERW, CK, BGRIM